การพิจารณาหลักเกณฑ์และการคัดเลือกโครงการ
การนำเสนอหลักเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม และมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นโครงข่ายทางเลี่ยงเมือง
การคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นโครงข่ายทางเลี่ยงเมือง เป็นขั้นตอนลำดับแรกที่มีความสำคัญที่ต้องดำเนินการในโครงการฯ เพื่อให้ทราบถึงพื้นที่เป้าหมายในการคัดเลือกโครงการเพื่อนำมาจัดทำแผน โดยในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ปรึกษาจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการคัดกรองพื้นที่ และเสนอแนะโครงการ
1) ด้านสังคมและเศรษฐกิจ
พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาทางเลี่ยงเมือง ดังนี้
- * คุณภาพชีวิต
- * ความปลอดภัยในชีวิตของผู้คนในเมือง ในเรื่องของมลพิษทางอากาศ เสียง และการเกิดอุบัติเหตุ
- * กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเมืองถูกจำกัดหากไม่มีทางเลี่ยงเมือง เนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่เศรษฐกิจของเมืองถูกจำกัดด้านกายภาพของเขตทาง
- * ด้านอื่นๆ (ถ้ามี)
2) ด้านกายภาพ
พิจารณาลักษณะทางกายภาพของพื้นที่และสภาพโครงข่ายถนนเดิม ดังนี้
- * เส้นทาง Logistic ที่ผ่านเข้าเมือง
- * เส้นทางผ่านแหล่งโบราณสถานโบราณคดี หรือพื้นที่อ่อนไหว
- * เส้นทางเดิมคับแคบ มีเขตทางที่จำกัดไม่สามารถขยายพื้นที่ผิวจราจรได้อีก
-
*
การเชื่อมโยง
- - เชื่อมโยงไปสู่แหล่งท่องเที่ยว
- - เชื่อมโยงการเดินทางสู่ท่าเรือ สนามบิน และจุดศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งอื่นๆ
- - เชื่อมโยงการเดินทางสู่นิคมอุตสาหกรรม เขตเศรษฐกิจเฉพาะหรือพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ
- - เชื่อมสู่ด่านพรมแดน
-
*
ความจำเป็น
- - ต้องใช้เส้นทางเดิมเพื่อภารกิจอื่น
- - ด้านผังเมือง
- - ด้านการบรรเทาภัยพิบัติหรือใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
- - ด้านอื่นๆ (ถ้ามี)
3) ด้านขนส่งและจราจร
พิจารณาปัจจัย ดังนี้
- * ความหนาแน่นของปริมาณจราจร จะพิจารณาจากค่า AADT บนถนนสายหลักของกรมทาง และกรมทางหลวงชนบท
- * สัดส่วนของรถบรรทุก จะพิจารณาปริมาณรถบรรทุกที่เดินทางผ่านพื้นที่ในสัดส่วน % รถบบรทุกที่สูงกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณการจราจรทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนถนนสายหลัก
- * สถิติการเกิดอุบัติเหตุ จะพิจารณาจากสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากสถิติของกระทรวงคมนาคม
- * การพัฒนาโครงข่ายการขนส่ง (Missing Link) จะพิจารณาถึงการเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร การเชื่อมโยงสู่พื้นที่สำคัญ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ พื้นที่ด่านชายแดน เป็นต้น
- * ด้านอื่นๆ (ถ้ามี)